ตาม ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีไปขับเคลื่อนสมุนไพรไทย ๔.๐ โดยดร.สุรพล ชามาตย์

ตาม ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีไปขับเคลื่อนสมุนไพรไทย ๔.๐ โดยดร.สุรพล ชามาตย์

“ตาม ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีไปขับเคลื่อนสมุนไพรไทย ๔.๐”

ดร.สุรพล ชามาตย์

นายกสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ในพระบรมราชูปถัมภ์

“เจ็บป่วยคราใด ใช้ยาไทยก่อนไปพบแพทย์” นี่เป็นประโยคคาพูดของท่านพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่มีความหมายอันมีค่าอย่างยิ่งยวดและได้ใจความหลายๆ ความหมาย ในวลีของคาพูดท่านนั้นได้ครอบคลุมถึงความห่วงใยในประชาชนที่เจ็บไข้ได้ป่วยจากโรค รวมทั้งมีการส่งเสริมเศรษฐกิจรากหญ้า จากภาคการเกษตรกรรมเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม การใช้ยาเพื่อการสาธารณสุข การท่องเที่ยวในการเพิ่มมูลค่าและส่งออกเพื่อการพาณิชยกรรม เรียกว่าคาพูดของท่านเพียงประโยคเดียวครอบคลุมการทางานขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลกระตุ้นการทางานของข้าราชการให้บูรณาการการทางานร่วมกันได้ถึง ๕ กระทรวงหรือมากกว่าเลยทีเดียว ซึ่งต้องกราบขอชื่นชมวิสัยทัศน์อันกว้างไกลของท่านเป็นอย่างสูง มา ณ โอกาสนี้ โดยเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 9 มีนาคม 2560 ที่ผ่านมา ท่านได้เดินทางไปจังหวัดปราจีนบุรี ณ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เพื่อติดตามการดาเนินงานตาม “นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจไทยด้วยธุรกิจและผลิตภัณฑ์สมุนไพร” และดูความก้าวหน้าของ “โครงการเมืองสมุนไพร (Herbal City)” วัตถุประสงค์หนึ่งของการเดินทางมาติดตามงานและดูความก้าวหน้าเรื่องสมุนไพรของท่านนายกฯ ก็คือ ท่านมีความประสงค์อยากให้เกษตรกรปลูกพืชสมุนไพรเพื่อเป็นรายได้เสริมในพื้นที่ๆ มีการว่างเว้นจากการปลูกข้าวนาปี หรือพื้นที่ว่างเปล่าที่มีอยู่ ในการให้มีรายได้เพิ่มเติม อันเป็นการดาเนินชีวิตตามรอยเบื้องพระยุคลบาท พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ตามแนวพระราชดาริเศรษฐกิจพอเพียง ที่จะนาไปสู่ความอยู่ดีกินดี อีกทั้งเพื่อให้ปรับตัวเองเข้าสู่ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ที่มีวิสัยทัศน์ว่า “ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ๓๐ มีนาคม ๒๕๖๐ ที่ผ่านมา ผมมีโอกาสได้รับฟังบรรยายจาก ท่าน ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีประจาสานักนายกรัฐมนตรี ท่านได้มาบรรยายให้กับนักศึกษาหลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านการค้าและการพาณิชย์ รุ่นที่ ๑๐ หรือเรียกสั้นๆ ว่า (TEPCoT ๑๐) ณ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ภายใต้หัวข้อบรรยาย “Thailand ๔.๐ กับอนาคตประเทศไทย” ท่านสุวิทย์ฯ ได้กล่าวถึง ภาระกิจขับเคลื่อน Thailand ๔.๐ ใน ๑๐ ภาระกิจของนายกรัฐมนตรี โดยพืชสมุนไพรจะอยู่ในภาระกิจย่อยของภาระกิจที่ ๓ คือ “การพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมและภาคบริการเป้าหมาย” และตัวชี้วัดในการขับเคลื่อน ๕ ปีแรก จะมี High – Value Products จากพืชและสมุนไพรอย่างน้อย ๘ ผลิตภัณฑ์ ในส่วนของสมุนไพรของประเทศเมื่อวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๙ คณะรัฐมนตรีได้ผ่านความเห็นชอบ “แผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย ฉบับที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔ โดยตั้งเป้าเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ASEAN ภายใต้วิสัยทัศน์ “สมุนไพรเพื่อความมั่นคงทางสุขภาพและความยั่งยืนของเศรษฐกิจไทย” โดยได้มุ่งสนับสนุนการผลิตให้เป็นเชิงพาณิชย์เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยให้ได้ ๓.๒ แสนล้านบาท และมูลค่าสมุนไพรในสถานบริการ ๓,๐๐๐ ล้านบาท โดยในปี ๒๕๕๙ ได้นาร่องเมืองสมุนไพรครอบคลุม ๔ ภูมิภาค รวม ๔ จังหวัด คือ ปราจีนบุรี สกลนคร เชียงราย และสุราษฎร์ธานี ตามลาดับ และการที่นายกรัฐมนตรี ท่านพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เดินทางไปติดตามงานเรื่องดังกล่าวที่โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี ๑ ใน ๔ Herbal City จึงเป็นการเล็งให้เห็นว่า ท่านมีความประสงค์ต้องการให้เกิด “เมืองสมุนไพร ให้ก้าวไกลในอาเซียน หรือสมุนไพร ๔.๐” ขึ้นในเมืองไทย เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของเกษตรกรไทยที่ยังมีความเป็นอยู่อย่างยากจนนั่นเอง

เมื่อต้นปี พ.ศ. ๒๕๔๕ ผมได้มีโอกาสไปปฏิบัติงานที่สานักงานอุตสาหกรรมจังหวัดปราจีนบุรี และได้มีโอกาสพบกับ “พี่ต้อม” หรือท่านเภสัชกรหญิง ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร แห่งโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า “หมอต้อม” ต้องขอกราบชื่นชมพี่ต้อม มา ณ โอกาสนี้เป็นอย่างสูง ในการที่มีความมุมานะ อดกลั้นและอดทน จนผลักดันสมุนไพรไทย ให้ก้าวเข้าสู่การเป็นนโยบายรัฐบาลในปัจจุบันได้สาเร็จ สมกับเป็นศิษย์เก่าดีเด่นของมหาวิทยาลัยมหิดล และต้องบอกว่าเป็นเรื่องที่ยากมากๆ ที่พี่ต้อมได้ขับเคลื่อนผ่านหลายๆ จุด ของการผลักดันสมุนไพรไทยให้เข้าสู่การเป็นผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ นับตั้งแต่ในเรื่องที่ยากมากของการขอตั้งโรงงานจากสานักงานอุตสาหกรรมจังหวัดปราจีนบุรี เพื่อผลิตสมุนไพรภายในโรงพยาบาล ซึ่งตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานแล้วขัดต่อกฎหมายและไม่สามารถตั้งโรงงานภายในโรงพยาบาลได้ แต่คราวนั้นพี่ต้อมได้ให้เหตุผลที่น่าฟังเป็นอย่างยิ่งว่า “หัวหน้าคะช่วยพี่หน่อยนะคะ คือพี่ต้องการใบอนุญาตโรงงานไปประกอบการขอ อย. ของยาสมุนไพร ซึ่งเป็นระเบียบของ อย. ที่ได้กาหนดว่าจะต้องมีใบอนุญาตโรงงานแนบไปประกอบการขออนุญาต อีกทั้งกระทรวงฯ พี่ไม่มีนโยบายที่จะให้งบประมาณ ไปตั้งโรงงานผลิตยาสมุนไพรภายนอกโรงพยาบาล แต่วัตถุประสงค์ที่พี่ต้องการคืออยากจะผลิตยาสมุนไพร เพื่อมาใช้กับคนไข้หรือผู้ป่วยในโรงพยาบาลของเราเอง โดยใช้บุคลากรของเราที่มีอยู่ช่วยกันผลิตยาสมุนไพร และผลักดันให้สมุนไพรไทยได้เกิดค่ะ และอีกประการ ในการผลิตยาจากสมุนไพรในกระบวนการฆ่าเชื้อต้องใช้ความร้อนจากหม้อไอน้ามาใช้นึ่งฆ่าเชื้อโรค ที่ติดมากับสมุนไพร เช่น พวกแมลงต่างๆ ตลอดจนใช้ความร้อนอบแห้งยาสมุนไพรในกระบวนการผลิต และถ้าเราใช้หม้อไอน้าของโรงพยาบาล ก็จะทาให้ลดต้นทุนการผลิตได้อีกทางหนึ่งด้วยค่ะ” เป็นคาพูดด้วยเหตุและผลที่พี่ต้อมให้ไว้ ในตอนที่มาขออนุญาตตั้งโรงงานในคราวนั้น และต่อมาในเวลาอีกไม่นาน พี่ต้อมก็สามารถทาได้สาเร็จในการขออนุญาตตั้งโรงงานผลิตสมุนไพรขึ้นได้ในโรงพยาบาล โดยอาจกล่าวได้ว่าโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เป็นโรงพยาบาลแห่งแรกที่ได้รับอนุญาตในการให้ประกอบกิจการโรงงานผลิตยาจากสมุนไพรขึ้นภายในโรงพยาบาล ซึ่งผมยังจดจาเหตุการณ์ในห้วงเวลาสนทนากับพี่ต้อม ในวันนั้นที่ผ่านมาได้เป็นอย่างดี แม้ว่าเวลาจะลุล่วงไปแล้วถึง ๑๕ ปีเศษ

ในประมาณกลางเดือนกันยายน ๒๕๕๙ ปีที่แล้ว ผมได้เรียนเชิญนักข่าวที่ประจาอยู่ กระทรวงอุตสาหกรรมทั้งหมดเกือบแทบทุกท่าน จัดโครงการ Press Tour เดินทางไปสัญจรไปที่จังหวัดราชบุรี ภายใต้การดาเนินงานของสานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ในการเยี่ยมชมกระบวนการผลิตยาสมุนไพรที่ได้มาตรฐานสากล และผ่านการรับรองงานวิจัยแล้วที่ บริษัท บางกอกแล็ป แอนด์ คอสเมติก จากัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนาเสนอข่าวเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมยาสมุนไพรไทยให้เทียบคุณภาพสากล และสนับสนุนนโยบายรัฐบาลผลักดันเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยในอนาคต (New S – Curve) โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub) ท่านเภสัชกรศุภชัย สายบัว ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทฯ ได้ต้อนรับคณะของเราอย่างอบอุ่น อย่างดียิ่ง พี่หมอศุภชัยฯ ท่านได้กล่าวถึงการใช้ยาสมุนไพร เพื่อใช้รักษาโรคในปัจจุบันของแพทย์ เป็นที่น่าตกใจยิ่งคือ “ตลาดยาของโรงพยาบาลทั้งรัฐและเอกชนในประเทศไทยมีมูลค่ามากกว่า ๑๕๐,๐๐๐ ล้านบาท แต่มีการใช้ยาสมุนไพรรักษาโรคประมาณ ๑๐,๐๐๐ ล้านบาทครับ” พี่หมอศุภชัยฯ กล่าวกับผมและคณะฯ ด้วยความห่วงใยทางด้านเศรษฐกิจของสมุนไพร “สิ่งที่สาคัญในกระบวนการผลิตยาสมุนไพร คือต้องควบคุม “สารสาคัญ” ให้ได้ เพราะสารสาคัญในตัวยาสมุนไพรจะออกมาในรูปของ “สรรพคุณ” ซึ่งจะไปกาหนดข้อบ่งใช้ของยานั้นได้ ว่ามีสรรพคุณในการบาบัดและรักษาโรคอะไร มีวิธีใช้หรือข้อบ่งใช้อย่างไร” พี่หมอศุภชัยฯ อธิบายความสาคัญของ “สารสาคัญ” เพิ่มเติมต่ออีกว่า “ผมยกตัวอย่างเจลพริก “สารสาคัญ” ที่ได้จากพืชสมุนไพร คือ พริก สารสาคัญในพริกที่ใช้รักษาโรคคือ Capsaicin ซึ่งสกัดได้จากเมล็ดพริกและจะแสดงออกมาในรูปของความร้อนต่อผิวหนังของร่างกาย และซึมเข้าสู่จุดที่ร่างกายบาดเจ็บเพื่อรักษาโรค ดังนั้นเราต้องควบคุม “สารสาคัญ” คือ Capsaicin ให้นิ่งให้ได้ ถึงจะได้สรรพคุณหรือผู้ผลิตยาสมุนไพรต้องแสดงให้แพทย์เห็นและทราบว่าผู้ผลิตยา ควบคุม “สารสาคัญ” ได้ แพทย์ถึงจะยอมรับและยอมสั่งจ่ายยาให้กับคนไข้หรือผู้ป่วย” พอพี่หมอศุภชัยอธิบายเสร็จ ผมก็ถึงบางอ้อพอดีว่า ทาไมแพทย์ทุกคนจึงใช้ยาแผนปัจจุบันในการรักษาโรค ไม่ใช้ยาสมุนไพร ก็เพราะเหตุในกระบวนการผลิตยาสมุนไพร ไม่มีงานวิจัยที่รับรอง “สารสาคัญ” ที่ชัดเจน การที่แพทย์ได้รับใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะที่อนุญาตและออกโดยคณะกรรมการประกอบโรคศิลปะ กองการประกอบโรคศิลปะ กระทรวงสาธารณสุข นั้น บังคับให้แพทย์ต้องใช้ยาแผนปัจจุบันที่ขึ้นบัญชีไว้เท่านั้น และหากแพทย์วินิจฉัยโรคได้ถูกต้องและจ่ายยารักษาได้ถูกโรคให้กับผู้ป่วย จะส่งผลถึงเรื่องการมีชื่อเสียงของแพทย์ท่านนั้นๆ ด้วย และจากการที่ได้คุยกับพี่หมอศุภชัยฯ และศึกษากระบวนการผลิตยาทั้งแผนปัจจุบันและแผนโบราณภายในโรงงานผลิตแล้ว ทาให้ผมมองเห็นว่า โอกาสที่ประเทศไทยเราจะผลิต “ยาสมุนไพรไทยแผนปัจจุบัน” จึงไม่เป็นเรื่องที่ยาก หากกระบวนการผลิตยาสมุนไพรเป็นไปตามรูปภาพที่แสดงถึงหัวใจการผลิตยามาตรฐาน “ยาสมุนไพรไทยแผนปัจจุบัน” และสาระสาคัญของยาสมุนไพร คงไม่แตกต่างจากยาแผนปัจจุบัน หากเราควบคุม “สารสาคัญ” ให้อยู่ในหน่วยวัด ปริมาณการผสม ที่เป็นไปตามสูตรทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้กาหนด ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้นในเบื้องต้นหากเราจะก้าวเข้าสู่การเป็นสมุนไพรไทย ๔.๐ ทุกอย่างต้องเริ่มต้นจากค้นคว้า ศึกษา และวิจัย ให้ถ่องแท้และชัดเจนเสียก่อน ตลอดจนเมื่อพูดถึงกระบวนการผลิตยา ก็คงจะหนีไม่พ้นวลีเด็ดของผู้ใหญ่ท่านหนึ่งที่เป็นอาจารย์สอนการควบคุมคุณภาพ ในกระบวนการผลิตให้กับผม คือ ท่าน ดร.วิฑูรย์ สิมะโชคดี ที่ท่านได้พร่าสอนอยู่เสมอว่า “คุณภาพคือความอยู่รอด” และหากมีผลทดสอบการวิจัยรับรองให้เป็นไปตามหลักสากลของสมุนไพรไทยแล้ว การควบคุมการผลิตและการควบคุมคุณภาพในกระบวนการผลิตยาสมุนไพรไทยแผนปัจจุบัน หากมีกระบวนการผลิตเทียบเท่ากับการผลิตยาแผนปัจจุบัน มีการประกันคุณภาพยาสมุนไพรไทยให้มีมาตรฐานทุกกระบวนการ และยาสมุนไพรไทยได้รับการตรวจประเมิน โดยมีใบรับรองมาตรฐานสากลแล้ว ขั้นตอนต่อไปเราคงต้องรบกวนกระทรวงสาธารณสุขช่วยกาหนดแนวทางในการขึ้นทะเบียนยาสมุนไพรไทยแผนปัจจุบัน ที่มีข้อบ่งใช้ใหม่ตามผลงานวิจัย โดยให้มีการกาหนดแนวทางให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อให้แพทย์ ได้นาไปใช้ ในการส่งเสริมการผลิตยาแผนปัจจุบันจากสมุนไพรไทย ที่จะได้นาร่องพัฒนาเศรษฐกิจไทยด้วยธุรกิจและผลิตภัณฑ์สมุนไพร และคงไม่ยากที่จะมี High – Value Products จากพืชและสมุนไพรอย่างน้อย ๘ ผลิตภัณฑ์ ที่เป็นตัวชี้วัดในการขับเคลื่อน ๕ ปีแรก ตามนโยบายรัฐบาล และจะทาให้เรา “ตาม ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ไปขับเคลื่อนสมุนไพรไทย ๔.๐ ด้วยความสาเร็จอย่างภาคภูมิใจ”